ชาห์ทาห์มาสพ์ที่ 1 แห่งเปอร์เซีย
ชาห์ทาห์มาสพ์ที่ 1 แห่งเปอร์เซีย

ชาห์ทาห์มาสพ์ที่ 1 แห่งเปอร์เซีย

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งชาห์ทาห์มาสพ์ที่ 1 แห่งเปอร์เซีย (อังกฤษ: Tahmasp I) (22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 151414 พฤษภาคม ค.ศ. 1576) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ผู้ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1524 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1576 ทรงเป็นชาห์ผู้มีอิทธิพลพระองค์หนึ่งของอิหร่าน ชาห์ทาห์มาสพ์ที่ 1 เป็นพระราชโอรสของชาห์อิสมาอิลที่ 1 และชาห์-เบกิ คามุม (ที่รู้จักกันในตำแหน่งทาจลู คามุม (Tajlu Khanum)) ของชนเติร์กเมน (Turkmen people) เผ่ามาว์ซิลลู[1][2]เมื่อยังทรงพระเยาว์พระองค์ทรงเป็นผู้อ่อนแอและทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคิซิลบาช (Qizilbash) ซึ่งเป็นชนกลุ่มเตอร์กิกผู้เป็นกระดูกสันหลังของอำนาจของราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ ผู้นำของคิซิลบาชต่อสู้กันเองในการเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของทาห์มาสพ์ เมื่อทาห์มาสพ์เติบโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นพระองค์ก็ทรงสามารถแสดงพระเดชานุภาพในการควบคุมชนเผ่าเหล่านี้ได้ รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยที่ต้องทรงเผชิญกับอันตรายจากอิทธิพลจากภายนอกประเทศโดยเฉพาะจากจักรวรรดิออตโตมันและจากอุซเบ็ค ในปี ค.ศ. 1555 พระองค์ก็ทรงสามารถแสวงหาความปรองดองได้จากสัญญาสันติสุขอามาสยา (Peace of Amasya) ที่ยืนยาวอยู่สามสิบปีจนกระทั่งมาถูกละเมิดในรัชสมัยของชาห์โมฮัมมัด โคดาบันดา (Mohammed Khodabanda)ชาห์ทาห์มาสพ์ที่ 1 เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้ที่ทรงให้จักรพรรดิฮุมายัน (Humayun) แห่งจักรวรรดิโมกุลหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารได้ ซึ่งปรากฏอยู่ในภาพเขียนบนผนังของวังซาฟาวิยะห์ในเชเฮลโซทูนแต่อิทธิพลที่มีผลต่อมาอีกนานคือการสนับสนุนการผลิตพรมเปอร์เชียเป็นอุตสาหกรรมระดับชาติ ที่อาจจะเป็นผลมาจากการค้าขายบนเส้นทางสายไหมมาถูกขัดจังหวะในระหว่างสงครามกับออตโตมัน